วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562

บทที่ 1 Accounting Information System and The Accountant


https://iapi.bot.or.th/Developer?lang=th



ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เก็บรวบรวมไว้เพื่อเป็นสิ่งที่บอกเหตุการณ์เกิดขึ้นเป็นข้อมูลดิบ
สารสนเทศ (Infoemation) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลและถูกจัดให้อยู่ในรูปต่างๆ มีที่ความหมาย และมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจหรือนำไปใช้งาน เช่น ยอดขายเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากปีที่แล้ว ในอัตราร้อยละเท่าใด งบกระแสเงินสด งบดุล งบกำไรขาดทุนเป็นต้น

ระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information System : AIS ) เป็นระบบที่รวบรวมจัดระบบและนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์กรโดยระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดได้หรือการประมวลผลเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพโดยระบบสารสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ
1 ระบบบัญชีการเงิน(financial accounting system) คือการจัดทำบัญชีที่อยู่ภายใต้วัฏจักรการบัญชีมีการสร้างระบบประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีขั้นพื้นฐานของธุรกิจเริ่มตั้งแต่การจัดเก็บรวบรวมเอกสารขั้นต้นซึ่งบรรจุรายการเปลี่ยนแปลงทางการค้าที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมาบันทึกรายการในสมุดขั้นต้นหรือสมุดรายวันและผ่านรายการบัญชีไปยังสมุดแยกประเภทดังนั้นจึงทำการสรุปยอดคงเหลือในงบทดลองก่อนปรับปรุงรายการเมื่อสิ้นงวดเวลาบัญชีก็จะดำเนินการปรับปรุงรายการบัญชีบางประเภทหลังจากนั้นจึงจัดทำงบกำไรขาดทุนพร้อมทั้งดำเนินการปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีทุนหรือส่วนของเจ้าของและทำการปรับงบทดลองหลังปิดบัญชีบัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงินจัดหมวดหมู่รายการต่างๆสรุปผลและตีความหมายในงบการเงินได้แก่งบกำไรขาดทุนงบดุลและงบกระแสเงินสดโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือนำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์กบัญชีการเงินประกอบด้วยกิจกรรม
1.1 รวบรวมรายการค้า
1.2 จำแนกประเภทและใส่รหัสบัญชี
1.3 บันทึกรายการในสมุดรายวัน

1.4 ผ่านรายการบัญชีไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง
1.5 จัดทำงบทดลอง
1.6 จัดทำงบการเงิน
2 ระบบบัญชีบริหาร(managerial accounting system) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงิน ผู้บริหารเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจระบบบัญชีจะประกอบด้วยบัญชีต้นทุนการประมาณและการศึกษาระบบการนำข้อมูลบัญชีการเงินมาทำการจัดรูปแบบและประมวลผลเพื่อให้ได้รายงานตามความต้องการของผู้ใช้Fดยส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบของรายงานผลการดำเนินงานโดยมีลักษณะสำคัญคือ
  • ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์กร
  • ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ
  • ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
  • มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
  • มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของการใช้งานได้
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศทางการบัญชี
1. เป้าหมายและวัตถุประสงค์(Goals and Objectives)
2. ข้อมูลเข้า(Inputs) เช่น ยอดขายสินค้า ราคาขายของกิจการ ราคาขายของคู่แข่งขัน ยอดขายของคู่แข่งขัน เป็นต้น
3. ตัวประมวลผล(Processor)คือ เครื่องมือที่ใช้ ในการแปลงสภาพจากข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ เช่น การค่านวณ การเรียงสำดับ การคิดร้อยละ การจัดหมวดหมู่ การจัดทำกราฟ จัดทำรายงาน เป็นต้น
4. ข้อมูลออก(Output)คือสารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้
5. การป้อนกลับ(Feedback)
6. การเก็บรักษาข้อมูล(Data Storage)
7. คำสั่งและขั้นตอนการปฏิบัติงาน(Instructions and Procedures)
8. ผู้ใช้(Users)
9. การควบคุมและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล(Control and Security Measures)

หน้าที่ของระบบสารสนเทศทางการบัญชี
1. การรวบรวมข้อมูล(Data Collection)
2. การประมวลผลข้อมูล(Data Processing)
3. การจัดการข้อมูล(Data Management)
4. การควบคุมข้อมูล และรักษาความปลอดภัยของข้อมูล(Data Control and Data Security)
5. การจัดทำสารสนเทศ(Information Generation)

ลักษณะของสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจ
1. เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
2. ถูกต้องเชื่อถือได้
3. สมบูรณ์ครบถ้วน
4. ทันเวลา
5. แสดงเป็นจำนวนได้
6. ตรวจสอบความถูกต้องได้
7. สามารถเข้าใจได้
8. สามารถเปรียบเทียบได้

กิจการธุรกิจ แบ่งได้ 3 ประเภท
1. กิจกรรมพาณิชยกรรม (ซื้อมาขายไป)
2. กิจกรรมบริการ (การให้บริการ)
3. กิจกรรมอุตสาหกรรม (ผลิตสินค้า)


วงจรทางการค้า(Transaction Cycles) แบ่งได้ 4 วงจร คือ
1. วงจรรายได้
2. วงจรรายจ่าย
3. วงจรการจัตการทรัพยากร
4. วงจรบัญชีแยกประเภททั่วไป และรายงานทางการเงิน

ความสำคัญของการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการปัญชี
1. ประสิทธิภาพ
2. ความสม่ำเสมอ
3. ต้นทุนที่ต่ำกว่า
4. ความสามารถในการปรับตัว
5. ความทันสมัย
สารสนเทศทางการบัญชี คือ สารสนเทศที่ได้มาจากระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ งบการเงินและการภาษีมูลค่าเพิ่ม

ที่นำเสนอต่อผู้ใช้งบการเงินและกรมสรรพากรและในส่วนการบัญชีบริหาร คือ รายงานวิเคราะห์ต้นทุนต่างๆรายงานงบประมาณซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ออกจากระบบสารสนเทศทางการบัญชีและใช้เป็นหลักฐานทางการเงิน ดังนี้
1. ช่ายให้ธุรกิจทราบกำไรที่แท้จริงขององค์กร
2. ช่วยให้ธุรกิจทราบฐานะทางการเงินของกิจการ
3. ช่วยเป็นเครื่องมีอสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ
4. ช่วยเป็นเครื่องมีอในการเสียภาษี
5. ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
6. ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้

ประเภทสารสนเทศทางการบัญชี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1 เอกสารทางการบัญชี คือ ซึ่งฐานข้อมูลอยู่ในรูปแบบของเอกสารที่ใช้บันทึกรายการบัญชีมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่เอกสารที่ระบุแหล่งข้อมูลเบื้องต้นจนกระทั่งเอกสารที่ใช้บันทีกข้อมูลก่อนที่จะออกงบการเงินจำแนกได้ 4 ประเภท ดังนี้
1.1 เอกสารขั้นต้น เอกสารใช้สำหรับการลงบัญชีและการบันทึกรายการเริ่มตั้งแต่การเกิดรายการค้า
1.2 สมุดรายวัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสมุดบัญชี คือเอกสารที่นำมาใช้สำหรับการบันทีกบัญชีในระบบมือ
1.3 บัญชีแยกประเภท เอกสารที่ได้จากการผ่านรายการบัญชีจากสมุดรายวันโดยมีการจำแนกหมวดหมู่บัญชีที่เกี่ยวข้อง
1.4 งบทดลอง เอกสารที่แสดงยอดคงเหลือในบัญชีทุกบัญชีของบัญชีแยกประเภท
2 รายงานทางการเงิน คือ รายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากระบบสารสนเทศทางการบัญชีการเงินหรือระบบบัญชีแยกประเภท และรายงานทางการเงินเบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
2.1 งบการเงิน รายงานที่แสดงผลการดาเนินฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ
แบ่งได้ดังนี้
1. งบดุล แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ
2. งบกำไรขาดทุนแสดงผลการดำเนินงานของธุรกิจ
3. งบกระแสเงินสด งบแสดงการไหลเข้าและไหลออกของกระแสเงินสด
4. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ
5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลหรือรายละเอียดจากรายการและตัวเลขที่แสดงในงบการเงินประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้
1. เกณฑ์การจัดทางบการเงิน
2. นโยบายการบัญชีที่ธุรกิจเลือกใช้ของแต่ละห้วข้อบัญชี
3. ช้อมูลส่วนอื่น
2.2 รายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม มี 3 รูปแบบดังนี้
1. รายงานภาษีขายเป็นรายงานที่ก่หนดให้ธุรกิจบันที่กภาษีขายที่ธุรกิจพีงเรียกเก็บจากลูกค้า
2. รายงานภาษีซื้อ รายงานที่ธุรกิจบันทีกภาษีซื้อที่ถูกเรียกเก็บจากธุรกิจผู้จำหน่ายสินค้า
3. รายงานสินค้าและวัตถุดิบ แสดงสินค้าที่ได้มาและจำหน่ายไป
3 รายงานทางการบริหาร คือ รายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการนำสารสนเทศที่ได้จากงบการเงินมาทำการวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อให้ได้สารสนเทศที่น่าไปใช้ตัดสินใจทางการดำเนินงานและการบริหารภายในองค์การการกำหนดรูปแบบขึ้นอยู่กับ ความต้องการของผู้บริหารระดับต่างๆสามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้
3.1 รายงานด้านงบประมาณ
3.2 รายงานด้านการบัญชีต้นทุน
3.3 รายงานวิเคราะห์งบการเงิน
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ

ระบบย่อยของระบบสารสนเทศทางการบัญชี 3 ระบบ ดังนี้
1.ระบบประมวลผลธุรกรรม คือ ระบบที่สนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจประจำวัน
2.ระบบบัญชีแยกประเภทและรายงานทางการเงิน คือ ระบบที่ใช้ผลิตรายงานทางการเงิน
3.ระบบรายงานทางการบริหาร คือ ระบบที่ใช้ผลิตรายงานที่ใช้ภายในองค์กร
ระบบประมวลผลธุรกรรมจะมีการจำแนกธุรกรรมที่เป็นตัวเงินขั้นพื้นฐานทางการผลิต การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์และการเงินผ่านรายการเข้าสู่ระบบบัญชีแยกประเภททำการปรับยอดคงเหลือในบัญชีที่เก่ยวข้องเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประมวลผลเพื่อออกรายงานทางการเงินเมื่อสินงวดวันออกระบบบัญชีการประมวลสารสนเทศทางการบัญชีที่เป็นผลลัพธ์จากบัญชีแยกประเภทเพื่อตอบสนองต้องการใช้ข้อมูลของผู้บริหาร สามารถแยกได้ 5 ระบบดังนี้
1.ระบบประมวลผลธุรกรรม มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและเกิดขึ้นช้าๆในแต่ละวันทำการ การเกิดขึ้นช้ำของธุรกรรมนีเรียกว่า วัฏจักร รายการค้าจำแนกวัฏจักรรายการค้าเป็น 4 ประเภท คือ
1.1 วัฏจักรรายจ่าย ที่ก่อให้เกิดรายจ่ายประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
- การสั่งซื้อละรับสินค้า
- การควบคุมเจ้าหนี้และเงินสดจ่าย
- การซื้อสินทรัพย์ถาวร
- การจ่ายเงินเดือนพนักงาน
1.2 วัฏจักรรายได้ ที่ก่อให้เกิดรายรับเข้าธุรกิจประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
- การขายและจัดส่งสินค้า
- การแจังหนี้และเรียกเก็บเงิน
- การควบคุมลูกหนี้และรับชาระเงิน
1.3 วัฏจักรการแปลงสภาพ ที่ก่อให้เกิดการแปลงสภาพทรัพยากรวัตถุดิบ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายโรงงานให้เป็นสิค้าสำเร็จรูปตามคำส่งผลิตของลูกค้าประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจ ดังนี้
- การควบคุมวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือ
- การผลิต
- การคำนวณต้นทุนการผลิต
1.4 วัฏจักรการบริหารจัดการเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสินทร์พย์ของธุรกิจประกอบดัวยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
- การควบคุมเงินสด
- การควบคุมสินทรัทพย์
2.ระบบเชื่อมโยงข้อมูลภายธุรกิจ ลำดับแรกของการเชื่อมโยงข้อมูลภายในธุรกิจภายใต้ระบบสารสนเทคทางการบัญชีนั้นต้องจัดเตรียมผังบัญชีที่แสดงการจัดหมวดหมู่ปัญชีภายใต้การดำเนินงานของธุรกิจอย่างเป็นระเบียบกระบวนการของระบบ เชื่อมโยงช้อมูลภายธุรกิจอธิบายได้โดยใช้แผนภาพกระแสข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของระบบสารสนเทศทางการบัญชี ที่เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบสารสนเทศอื่นๆ โดยการรับเข้าธุรกรรมที่เกี่ยวข้อจากระบบสารสนเทศอื่นเพื่อมาประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ สารสนเทศทางการบัญชีอธิบายได้ดังนี้
1. ระบบสารสนเทศทางการผลิตจะส่งธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อวัตถุดิบและการผลิตสินค้าเข้าสู่ระบบ
2. ระบบสารสนเทศทางการตลาดจะส่งธุรกรรมการขายสินค้าเข้าสู่ระบบ
3. ระบบสารสนทศทางการเงินจะส่งธุรกรรมการรับและจำยเงินสดเข้าสู่ระบบ
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะส่งธุรกรรมการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เข้าสู่ระบบ
5. ผู้จัดการจะส่งรายการปรับปรุงบัญชีและงบประมาณเข้าสู่ระบบ
6. ผู้ใช้รายงานจะรับรายงานทางการเงินและการบริหารที่ออกจากระบบ
3.ระบบบัญชีแยกประเภท
3.1 การบันที่กรายการปรับปรุงเป็นขั้นตอนการนาเข้ารายการปรับปรุงบัญชีอาจจะเป็นการปรับปรุงข้อผิดพลาดที่พบในการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบสารสนเทศอื่น
3.2 การผ่านรายการบัญชี เป็นขั้นตอนของการโอนรายการจากบัญชีสมุดรายวันทั่วไปเข้าสู่แยกประเภท
3.3 การปรับปรุงยอดคงเหลือหลังจากที่ระบบมีการผ่านข้อมูลบัญชีเรียบร้อย ระบบจะทำการปรับปรุงยอดคงเหลือในบัญชี ที่เกี่ยวข้องแต่ละบัญชีภายในแฟ้มงบทดลองให้เป็นปัจจุบัน
3.4 การออกรายงานการผ่านบัญชีเป็นขั้นตอนการออกรายงานที่ได้จากการผ่านรายการบัญชี
4.ระบบออกรายงานทางการเงิน
4.1 การประมาลผลรายงาน
4.2 การพิมพ์รายงานเป็นขั้นตอนหลังจากการประมวลผลรายงานเรียบร้อยแล้ว
4.3 การปิดบัญชีเป็นขั้นตอนหลังออกรายงานทางการเงินเรียบร้อยแล้ว
5.ระบบออกรายงานทางการบริหาร
5.1 การจัดเตรียมรูปแบบรายงาน
5.2 การประมาลผลรายงาน
5.3 การพิมพ์รายงาน
เทคโนโลยีทางการบัญชี
1.โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชิ
ซอฟแวร์ เชิงพาณิชย์ประเภทหนีึ่งที่วางขายอยู่ในตลาดซอฟแวร์ถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานต้านการบัญชีและจำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล(DBMS)เพื่อสร้างระบบจัดเก็บช้อมูลทางการบัญชีที่มีประสิทธิภาพสามารถออกรายงานท่างการเงินเละการบริหารได้ตามความต้องการของผู้ใช้ทั้งนี้จะต้องเน้นการควบคุมทางการบัญชีในส่วนการควบคุมเฉพาะระบบทั้งในด้านการควบคุมด้านการเข้าถึงการรับ-เข้าการประมวลผล และการส่งออกขัอมูล
โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี คือ โปรแกรมที่เน้นการบันทึก การประมวลผลและการนำเสนอรายงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมโดยมีการบันทีกข้อมูลรายวันการผ่านบัญชีไปสมุดแยกประเภทการรายงานสรุปผลในงบการงินต่างๆผลลัพธ์ของโปรแกรมอาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร หริอรายงานต่างๆมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีองค์ประกอบพื้นฐานของโปรแกรมครบถ้วน
2. มีโปรแกรมอรรถประโยชน์ด้านการกำหนดขนาดแฟ้มช้อมูล
3. ความสามารถของโปรแกรมในการเชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถการทำงานสูง
4. มีความสามารถใชัการเชื่อมต่อข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบลูกข่าย แม่ข่าย
5. เป็นโปรแกรมที่มีความยืดหยูุ่นในการใช้งานสุง
6. มีระบบการกำหนดรห้สผ่านหลายระดับ
7. มีการสร้างแฟ้มหลักรวมทั้งการปรับปรุงข้อมูลในแฟ้มหลัก
8. มีระบบการรับเข้าข้อมูลและตรวจทานการรับเข้าข้อมูล
9. การปัอนข้อมูลทางหน้าจออยู่ในลักษณะของการรับข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งรายการ
10. มีระบบป้องกันการผ่านบัญชีที่ผิดพลาด
11. มีความยืดหยุ่นของการปิดงวดบัญชี
12. มีโปรแกรมพิมพ์แบบฟอร์มเอกสารหรือรายงาน
13. การโอนย้ายข้อมูลภายในระบบสร้างความคล่องตัวให้กับผู้ใช้ข้อมูล
2.การนําเสนองบการเงินทางอินเทอร์เน็ต
งบการเงิน คือ รายงานทางการเงินที่นำเสนอต่อผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกธุรกิจการนำเสนองบการเงิน

ทางอินเทอร์เน็ตเป็นวิถีทางหนึ่งที่สามารถเชื่อมโยงงบการเงินได้กว้างไกลทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน 
3.โปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์กร
คือ โปรแกรมสำเร็จรูปที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานแบบลูกข่ายแม่ข่ายโดยทำการเชื่อมต่อ

กระบวนการทางธุรกิจภายในองค์กรในส่วนการประมวลผลธุรกรรมของระบบสารสนเทศทางธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
โดยมีการใช้ฐานข้อมูลรวมขององค์กรและมีการนำเข้าข้อมูลของผู้ใช้ในหน่วยงานต่างๆ ความสามารถของฐานข้อมูล
เดียวกันยังมีการารเชื่อมต่อระบบสารสนเทศกับองค์กรคู่ค้าอีกด้วย





เขียนโดย น.ส. กัญญาณัฐ   มั่นเพ็ชร
       น.ส. ชุติมา       นากร

บทที่ 14 Organizaing and Manipulating the Data in Databases


การจัดระเบียบและการจัดการข้อมูลในฐานข้อมูล

https://th.jobsdb.com/th-th/articles


บทบาทและความสำคัญของการจัดการข้อมูล
    ข้อมูล(Data)เป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ การจัดการข้อมูล
(
Data Management)เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการบริหารองค์การให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของเทคโนโลยีข่าวสาร คอมพิวเตอร์ที่เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การจัดการและบริหารองค์การให้ประสบความสำเร็จนั้น การตัดสินใจ
ที่ถูกต้อง รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ถือเป็นหัวใจของการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน ดังนั้นการจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้องจะช่วยให้องค์การอยู่รอดได้ในการแข่งขันกับองค์การอื่นๆ
    ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้จากการสังเกต การจดบันทึก การสัมภาษณ์และการสอบถาม แต่ข้อมูลนี้ต้องยังไม่มีการประมวลผล ไม่มีการวิเคราะห์ หรือที่เรียกว่าเป็นข้อมูลดิบ โดยที่ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที            
    การจัดการข้อมูล คือ การบริหาร การจัดเก็บข้อมูล การประมวลข้อมูลให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีประโยชน์ที่พร้อมจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในทันทีการจัดการข้อมูลจะเกิดประโยชน์สูงสุดหรือประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อผู้ใช้ข้อมูลสามารถใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นกลางมากที่สุด เพื่อจะได้นำข้อมูลเหล่านั้นมาช่วยในการตัดสินใจหรือนำไปใช้
ประโยชน์อื่นๆต่อไป ในปัจจุบันนี้ข้อมูลต่างๆ ได้ถูกจัดการไว้อย่างเป็นระเบียบ โดยเก็บไว้ในสิ่งที่เรียกว่า "แฟ้ม"(
File)

การรวบรวมข้อมูล
    การรวบรวมข้อมูล คือ กระบวนการในการแสวงหาข้อมูล และเก็บบันทึกข้อมูลไว้เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ในกรณีที่มีข้อมูลจำนวน มากๆ ฉะนั้นการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ จึงจำเป็นที่จะต้องจัดระบบการรวบรวมข้อมูลควร วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญมี 4 วิธี คือ
          1. การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถาม
        ใช้ในกรณีที่ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากบุคคล และเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดแบบเจาะลึก การใช้
วิธีการสอบถามจะได้ข้อมูลที่มีรายละเอียดมาก แต่ข้อเสียของการรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถามนี้คือ จะใช้ได้ในกรณีที่
จะสอบถามบุคคลเพียงกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น
     2. การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต
     คือ การพิจารณาดูสิ่งนั้นๆ โดยตรงภายในระยะเวลาและสถานที่ที่กำหนด การรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตนี้นิยมใช้กับสัตว์ หรือสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ หรือสิ่งที่ต้องการให้เกิดความเป็นธรรมชาติมากที่สุด เช่น สังเกตพฤติกรรมของสัตว์ หรือ สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในชั่วโมงคณิตศาสตร์
     3. การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ
      คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถาม การสัมภาษณ์บุคคลเป้าหมาย ซึ่งการสำรวจจะได้รับข้อมูลที่
เฉพาะเจาะจง และลึกกว่าแบบสังเกต และสามารถที่จะรวบรวมข้อมูลจากบุคคลเป้าหมายได้จำนวนมาก
     4. วิธีการค้นคว้าจากเอกสารหรือข้อมูลขั้นที่ 2
            คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการค้นคว้าตามเอกสารจากแหล่งต่างๆเช่นห้องสมุด หนังสือ เป็นต้นหรือจากการ
จดบันทึกหรือการบอกกล่าวจากบุคคลอื่น
ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลหาได้ง่ายและมีแหล่งข้อมูลอ้างอิง

กระบวนการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ
    การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ และการดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน    
     1. การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล ควรประกอบด้วย
          1.1 การรวบรวมข้อมูล เป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก และต้องเก็บให้ได้อย่างทันเวลา เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ข้อมูลประวัติบุคลากร ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การอ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง การตรวจใบลงทะเบียนที่มีการฝนดินสอดำในตำแหน่งต่าง ๆ เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นกัน
          1.2 การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความน่าเชื่อถือ หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข การตรวจสอบข้อมูลมีหลายวิธี เช่น การใช้ผู้ป้อนข้อมูลสองคนป้อนข้อมูลชุดเดียวกัน เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเปรียบเทียบกัน หรือตั้งกฎเกณฑ์ให้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบ
    2. การประมวลผลข้อมูล ประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
         2.1 การจัดกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มประวัตินักเรียน และแฟ้มลงทะเบียนเพื่อความสะดวกในการค้นหา
         2.2 การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้วควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือ ในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลำดับตัวอักษร การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ตามลำดับตัวอักษร
        2.3 การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสรุปรายงานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า เช่น สถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น
        2.4 การคำนวณข้อมูลที่เก็บรวบรวมมีเป็นจำนวนมากข้อมูลบางส่วน เป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณ เพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักเรียนแต่ละคน
   3. การดูแลรักษาข้อมูล ประกอบด้วยกิจกรรมต่อไปนี้
        3.1 การเก็บรักษาข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่างๆ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแล และทำสำเนาข้อมูล เพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคตได้
        3.2 การทำสำเนาข้อมูล การทำสำเนาเพื่อที่จะนำข้อมูลเก็บรักษาไว้ หรือนำไปแจกจ่ายในภายหลังจึงควรคำนึงถึงความจุและความทนทานของสื่อบันทึกข้อมูล
        3.3 การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล ข้อมูลต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย การสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทำได้รวดเร็วและทันเวลา
                3.4   การปรับปรุงข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บไว้มีจุดประสงค์ที่จะเรียกใช้งานได้ต่อไป ดังนั้นข้อมูลจึงต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา และจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อการค้นหาได้อย่างรวดเร็ว    




ที่มาโดย : https://sites.google.com/site


เขียนโดย  น.ส. กัญญาณัฐ  มั่นเพ็ชร
                  น.ส. ชุติมา         นากร 



บทที่ 1 Accounting Information System and The Accountant

https://iapi.bot.or.th/Developer?lang=th ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริง ต่างๆ ที่เก็บรวบรวมไว้เพื่อเป็นสิ่งที่บอกเหตุการณ์...