https://iapi.bot.or.th/Developer?lang=th
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เก็บรวบรวมไว้เพื่อเป็นสิ่งที่บอกเหตุการณ์เกิดขึ้นเป็นข้อมูลดิบ
สารสนเทศ (Infoemation) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลและถูกจัดให้อยู่ในรูปต่างๆ มีที่ความหมาย และมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจหรือนำไปใช้งาน
เช่น ยอดขายเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากปีที่แล้ว ในอัตราร้อยละเท่าใด งบกระแสเงินสด งบดุล งบกำไรขาดทุนเป็นต้น
ระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information System : AIS ) เป็นระบบที่รวบรวมจัดระบบและนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์กรโดยระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดได้หรือการประมวลผลเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพโดยระบบสารสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ
1 ระบบบัญชีการเงิน(financial accounting system) คือการจัดทำบัญชีที่อยู่ภายใต้วัฏจักรการบัญชีมีการสร้างระบบประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีขั้นพื้นฐานของธุรกิจเริ่มตั้งแต่การจัดเก็บรวบรวมเอกสารขั้นต้นซึ่งบรรจุรายการเปลี่ยนแปลงทางการค้าที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมาบันทึกรายการในสมุดขั้นต้นหรือสมุดรายวันและผ่านรายการบัญชีไปยังสมุดแยกประเภทดังนั้นจึงทำการสรุปยอดคงเหลือในงบทดลองก่อนปรับปรุงรายการเมื่อสิ้นงวดเวลาบัญชีก็จะดำเนินการปรับปรุงรายการบัญชีบางประเภทหลังจากนั้นจึงจัดทำงบกำไรขาดทุนพร้อมทั้งดำเนินการปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีทุนหรือส่วนของเจ้าของและทำการปรับงบทดลองหลังปิดบัญชีบัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงินจัดหมวดหมู่รายการต่างๆสรุปผลและตีความหมายในงบการเงินได้แก่งบกำไรขาดทุนงบดุลและงบกระแสเงินสดโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือนำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์กรบัญชีการเงินประกอบด้วยกิจกรรม
1.1 รวบรวมรายการค้า
1.2 จำแนกประเภทและใส่รหัสบัญชี
1.3 บันทึกรายการในสมุดรายวัน
1.4 ผ่านรายการบัญชีไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง
1.5 จัดทำงบทดลอง
1.6 จัดทำงบการเงิน
2 ระบบบัญชีบริหาร(managerial accounting system) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงิน
ผู้บริหารเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจระบบบัญชีจะประกอบด้วยบัญชีต้นทุนการประมาณและการศึกษาระบบการนำข้อมูลบัญชีการเงินมาทำการจัดรูปแบบและประมวลผลเพื่อให้ได้รายงานตามความต้องการของผู้ใช้Fดยส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบของรายงานผลการดำเนินงานโดยมีลักษณะสำคัญคือ
- ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์กร
- ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ
- ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
- มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
- มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของการใช้งานได้
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศทางการบัญชี
1. เป้าหมายและวัตถุประสงค์(Goals and Objectives)
2. ข้อมูลเข้า(Inputs) เช่น ยอดขายสินค้า ราคาขายของกิจการ ราคาขายของคู่แข่งขัน ยอดขายของคู่แข่งขัน เป็นต้น
3. ตัวประมวลผล(Processor)คือ เครื่องมือที่ใช้ ในการแปลงสภาพจากข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ เช่น การค่านวณ
การเรียงสำดับ การคิดร้อยละ การจัดหมวดหมู่ การจัดทำกราฟ จัดทำรายงาน เป็นต้น
4. ข้อมูลออก(Output)คือสารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้
5. การป้อนกลับ(Feedback)
6. การเก็บรักษาข้อมูล(Data Storage)
7. คำสั่งและขั้นตอนการปฏิบัติงาน(Instructions and Procedures)
8. ผู้ใช้(Users)
9. การควบคุมและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล(Control and Security Measures)
หน้าที่ของระบบสารสนเทศทางการบัญชี
1. การรวบรวมข้อมูล(Data Collection)
2. การประมวลผลข้อมูล(Data Processing)
3. การจัดการข้อมูล(Data Management)
4. การควบคุมข้อมูล และรักษาความปลอดภัยของข้อมูล(Data Control and Data Security)
5. การจัดทำสารสนเทศ(Information Generation)
ลักษณะของสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจ
ลักษณะของสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจ
1. เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
2. ถูกต้องเชื่อถือได้
3. สมบูรณ์ครบถ้วน
4. ทันเวลา
5. แสดงเป็นจำนวนได้
6. ตรวจสอบความถูกต้องได้
7. สามารถเข้าใจได้
8. สามารถเปรียบเทียบได้
กิจการธุรกิจ แบ่งได้ 3 ประเภท
1. กิจกรรมพาณิชยกรรม (ซื้อมาขายไป)
2. กิจกรรมบริการ (การให้บริการ)
3. กิจกรรมอุตสาหกรรม (ผลิตสินค้า)
วงจรทางการค้า(Transaction Cycles) แบ่งได้ 4 วงจร คือ
1. วงจรรายได้
2. วงจรรายจ่าย
3. วงจรการจัตการทรัพยากร
4. วงจรบัญชีแยกประเภททั่วไป และรายงานทางการเงิน
ความสำคัญของการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการปัญชี
1. ประสิทธิภาพ
2. ความสม่ำเสมอ
3. ต้นทุนที่ต่ำกว่า
4. ความสามารถในการปรับตัว
5. ความทันสมัย
สารสนเทศทางการบัญชี คือ สารสนเทศที่ได้มาจากระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ งบการเงินและการภาษีมูลค่าเพิ่ม
สารสนเทศทางการบัญชี คือ สารสนเทศที่ได้มาจากระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ งบการเงินและการภาษีมูลค่าเพิ่ม
ที่นำเสนอต่อผู้ใช้งบการเงินและกรมสรรพากรและในส่วนการบัญชีบริหาร คือ รายงานวิเคราะห์ต้นทุนต่างๆรายงานงบประมาณซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ออกจากระบบสารสนเทศทางการบัญชีและใช้เป็นหลักฐานทางการเงิน ดังนี้
1. ช่ายให้ธุรกิจทราบกำไรที่แท้จริงขององค์กร
2. ช่วยให้ธุรกิจทราบฐานะทางการเงินของกิจการ
3. ช่วยเป็นเครื่องมีอสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ
4. ช่วยเป็นเครื่องมีอในการเสียภาษี
5. ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
6. ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้
ประเภทสารสนเทศทางการบัญชี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1 เอกสารทางการบัญชี คือ ซึ่งฐานข้อมูลอยู่ในรูปแบบของเอกสารที่ใช้บันทึกรายการบัญชีมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่เอกสารที่ระบุแหล่งข้อมูลเบื้องต้นจนกระทั่งเอกสารที่ใช้บันทีกข้อมูลก่อนที่จะออกงบการเงินจำแนกได้ 4 ประเภท ดังนี้
1.1 เอกสารขั้นต้น เอกสารใช้สำหรับการลงบัญชีและการบันทึกรายการเริ่มตั้งแต่การเกิดรายการค้า
1.2 สมุดรายวัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสมุดบัญชี คือเอกสารที่นำมาใช้สำหรับการบันทีกบัญชีในระบบมือ
1.3 บัญชีแยกประเภท เอกสารที่ได้จากการผ่านรายการบัญชีจากสมุดรายวันโดยมีการจำแนกหมวดหมู่บัญชีที่เกี่ยวข้อง
1.4 งบทดลอง เอกสารที่แสดงยอดคงเหลือในบัญชีทุกบัญชีของบัญชีแยกประเภท
2 รายงานทางการเงิน คือ รายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากระบบสารสนเทศทางการบัญชีการเงินหรือระบบบัญชีแยกประเภท
และรายงานทางการเงินเบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
2.1 งบการเงิน รายงานที่แสดงผลการดาเนินฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ
แบ่งได้ดังนี้
1. งบดุล แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ
2. งบกำไรขาดทุนแสดงผลการดำเนินงานของธุรกิจ
3. งบกระแสเงินสด งบแสดงการไหลเข้าและไหลออกของกระแสเงินสด
4. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ
5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลหรือรายละเอียดจากรายการและตัวเลขที่แสดงในงบการเงินประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้
1. เกณฑ์การจัดทางบการเงิน
2. นโยบายการบัญชีที่ธุรกิจเลือกใช้ของแต่ละห้วข้อบัญชี
3. ช้อมูลส่วนอื่น
2.2 รายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม มี 3 รูปแบบดังนี้
1. รายงานภาษีขายเป็นรายงานที่ก่หนดให้ธุรกิจบันที่กภาษีขายที่ธุรกิจพีงเรียกเก็บจากลูกค้า
2. รายงานภาษีซื้อ รายงานที่ธุรกิจบันทีกภาษีซื้อที่ถูกเรียกเก็บจากธุรกิจผู้จำหน่ายสินค้า
3. รายงานสินค้าและวัตถุดิบ แสดงสินค้าที่ได้มาและจำหน่ายไป
3 รายงานทางการบริหาร คือ รายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการนำสารสนเทศที่ได้จากงบการเงินมาทำการวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อให้ได้สารสนเทศที่น่าไปใช้ตัดสินใจทางการดำเนินงานและการบริหารภายในองค์การการกำหนดรูปแบบขึ้นอยู่กับ
ความต้องการของผู้บริหารระดับต่างๆสามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้
3.1 รายงานด้านงบประมาณ
3.2 รายงานด้านการบัญชีต้นทุน
3.3 รายงานวิเคราะห์งบการเงิน
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
ระบบย่อยของระบบสารสนเทศทางการบัญชี 3 ระบบ ดังนี้
1.ระบบประมวลผลธุรกรรม คือ ระบบที่สนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจประจำวัน
2.ระบบบัญชีแยกประเภทและรายงานทางการเงิน คือ ระบบที่ใช้ผลิตรายงานทางการเงิน
3.ระบบรายงานทางการบริหาร คือ ระบบที่ใช้ผลิตรายงานที่ใช้ภายในองค์กร
ระบบประมวลผลธุรกรรมจะมีการจำแนกธุรกรรมที่เป็นตัวเงินขั้นพื้นฐานทางการผลิต การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์และการเงินผ่านรายการเข้าสู่ระบบบัญชีแยกประเภททำการปรับยอดคงเหลือในบัญชีที่เก่ยวข้องเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประมวลผลเพื่อออกรายงานทางการเงินเมื่อสินงวดวันออกระบบบัญชีการประมวลสารสนเทศทางการบัญชีที่เป็นผลลัพธ์จากบัญชีแยกประเภทเพื่อตอบสนองต้องการใช้ข้อมูลของผู้บริหาร สามารถแยกได้ 5 ระบบดังนี้
1.ระบบประมวลผลธุรกรรม มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและเกิดขึ้นช้าๆในแต่ละวันทำการ การเกิดขึ้นช้ำของธุรกรรมนีเรียกว่า วัฏจักร รายการค้าจำแนกวัฏจักรรายการค้าเป็น 4 ประเภท คือ
1.1 วัฏจักรรายจ่าย ที่ก่อให้เกิดรายจ่ายประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
- การสั่งซื้อละรับสินค้า
- การควบคุมเจ้าหนี้และเงินสดจ่าย
- การซื้อสินทรัพย์ถาวร
- การจ่ายเงินเดือนพนักงาน
1.2 วัฏจักรรายได้ ที่ก่อให้เกิดรายรับเข้าธุรกิจประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
- การขายและจัดส่งสินค้า
- การแจังหนี้และเรียกเก็บเงิน
- การควบคุมลูกหนี้และรับชาระเงิน
1.3 วัฏจักรการแปลงสภาพ ที่ก่อให้เกิดการแปลงสภาพทรัพยากรวัตถุดิบ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายโรงงานให้เป็นสิค้าสำเร็จรูปตามคำส่งผลิตของลูกค้าประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจ ดังนี้
- การควบคุมวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือ
- การผลิต
- การคำนวณต้นทุนการผลิต
1.4 วัฏจักรการบริหารจัดการเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสินทร์พย์ของธุรกิจประกอบดัวยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
- การควบคุมเงินสด
- การควบคุมสินทรัทพย์
2.ระบบเชื่อมโยงข้อมูลภายธุรกิจ ลำดับแรกของการเชื่อมโยงข้อมูลภายในธุรกิจภายใต้ระบบสารสนเทคทางการบัญชีนั้นต้องจัดเตรียมผังบัญชีที่แสดงการจัดหมวดหมู่ปัญชีภายใต้การดำเนินงานของธุรกิจอย่างเป็นระเบียบกระบวนการของระบบ
เชื่อมโยงช้อมูลภายธุรกิจอธิบายได้โดยใช้แผนภาพกระแสข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของระบบสารสนเทศทางการบัญชี
ที่เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบสารสนเทศอื่นๆ โดยการรับเข้าธุรกรรมที่เกี่ยวข้อจากระบบสารสนเทศอื่นเพื่อมาประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ สารสนเทศทางการบัญชีอธิบายได้ดังนี้
1. ระบบสารสนเทศทางการผลิตจะส่งธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อวัตถุดิบและการผลิตสินค้าเข้าสู่ระบบ
2. ระบบสารสนเทศทางการตลาดจะส่งธุรกรรมการขายสินค้าเข้าสู่ระบบ
3. ระบบสารสนทศทางการเงินจะส่งธุรกรรมการรับและจำยเงินสดเข้าสู่ระบบ
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะส่งธุรกรรมการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
เข้าสู่ระบบ
5. ผู้จัดการจะส่งรายการปรับปรุงบัญชีและงบประมาณเข้าสู่ระบบ
6. ผู้ใช้รายงานจะรับรายงานทางการเงินและการบริหารที่ออกจากระบบ
3.ระบบบัญชีแยกประเภท
3.1 การบันที่กรายการปรับปรุงเป็นขั้นตอนการนาเข้ารายการปรับปรุงบัญชีอาจจะเป็นการปรับปรุงข้อผิดพลาดที่พบในการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบสารสนเทศอื่น
3.2 การผ่านรายการบัญชี เป็นขั้นตอนของการโอนรายการจากบัญชีสมุดรายวันทั่วไปเข้าสู่แยกประเภท
3.3 การปรับปรุงยอดคงเหลือหลังจากที่ระบบมีการผ่านข้อมูลบัญชีเรียบร้อย ระบบจะทำการปรับปรุงยอดคงเหลือในบัญชี
ที่เกี่ยวข้องแต่ละบัญชีภายในแฟ้มงบทดลองให้เป็นปัจจุบัน
3.4 การออกรายงานการผ่านบัญชีเป็นขั้นตอนการออกรายงานที่ได้จากการผ่านรายการบัญชี
4.ระบบออกรายงานทางการเงิน
4.1 การประมาลผลรายงาน
4.2 การพิมพ์รายงานเป็นขั้นตอนหลังจากการประมวลผลรายงานเรียบร้อยแล้ว
4.3 การปิดบัญชีเป็นขั้นตอนหลังออกรายงานทางการเงินเรียบร้อยแล้ว
5.ระบบออกรายงานทางการบริหาร
5.1 การจัดเตรียมรูปแบบรายงาน
5.2 การประมาลผลรายงาน
5.3 การพิมพ์รายงาน
เทคโนโลยีทางการบัญชี
1.โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชิ
ซอฟแวร์ เชิงพาณิชย์ประเภทหนีึ่งที่วางขายอยู่ในตลาดซอฟแวร์ถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานต้านการบัญชีและจำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล(DBMS)เพื่อสร้างระบบจัดเก็บช้อมูลทางการบัญชีที่มีประสิทธิภาพสามารถออกรายงานท่างการเงินเละการบริหารได้ตามความต้องการของผู้ใช้ทั้งนี้จะต้องเน้นการควบคุมทางการบัญชีในส่วนการควบคุมเฉพาะระบบทั้งในด้านการควบคุมด้านการเข้าถึงการรับ-เข้าการประมวลผล และการส่งออกขัอมูล
โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี คือ โปรแกรมที่เน้นการบันทึก การประมวลผลและการนำเสนอรายงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมโดยมีการบันทีกข้อมูลรายวันการผ่านบัญชีไปสมุดแยกประเภทการรายงานสรุปผลในงบการงินต่างๆผลลัพธ์ของโปรแกรมอาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร หริอรายงานต่างๆมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีองค์ประกอบพื้นฐานของโปรแกรมครบถ้วน
2. มีโปรแกรมอรรถประโยชน์ด้านการกำหนดขนาดแฟ้มช้อมูล
3. ความสามารถของโปรแกรมในการเชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถการทำงานสูง
4. มีความสามารถใชัการเชื่อมต่อข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบลูกข่าย แม่ข่าย
5. เป็นโปรแกรมที่มีความยืดหยูุ่นในการใช้งานสุง
6. มีระบบการกำหนดรห้สผ่านหลายระดับ
7. มีการสร้างแฟ้มหลักรวมทั้งการปรับปรุงข้อมูลในแฟ้มหลัก
8. มีระบบการรับเข้าข้อมูลและตรวจทานการรับเข้าข้อมูล
9. การปัอนข้อมูลทางหน้าจออยู่ในลักษณะของการรับข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งรายการ
10. มีระบบป้องกันการผ่านบัญชีที่ผิดพลาด
11. มีความยืดหยุ่นของการปิดงวดบัญชี
12. มีโปรแกรมพิมพ์แบบฟอร์มเอกสารหรือรายงาน
13. การโอนย้ายข้อมูลภายในระบบสร้างความคล่องตัวให้กับผู้ใช้ข้อมูล
2.การนําเสนองบการเงินทางอินเทอร์เน็ต
งบการเงิน คือ รายงานทางการเงินที่นำเสนอต่อผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกธุรกิจการนำเสนองบการเงิน
ทางอินเทอร์เน็ตเป็นวิถีทางหนึ่งที่สามารถเชื่อมโยงงบการเงินได้กว้างไกลทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน
3.โปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์กร
คือ โปรแกรมสำเร็จรูปที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานแบบลูกข่ายแม่ข่ายโดยทำการเชื่อมต่อ
เดียวกันยังมีการารเชื่อมต่อระบบสารสนเทศกับองค์กรคู่ค้าอีกด้วย
กระบวนการทางธุรกิจภายในองค์กรในส่วนการประมวลผลธุรกรรมของระบบสารสนเทศทางธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
โดยมีการใช้ฐานข้อมูลรวมขององค์กรและมีการนำเข้าข้อมูลของผู้ใช้ในหน่วยงานต่างๆ ความสามารถของฐานข้อมูลเดียวกันยังมีการารเชื่อมต่อระบบสารสนเทศกับองค์กรคู่ค้าอีกด้วย
เขียนโดย น.ส. กัญญาณัฐ มั่นเพ็ชร
น.ส. ชุติมา นากร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น