กระบวนการทางธุรกิจ
กระบวนการทางธุรกิจ(Business process) คือ ขั้นตอนในการประกอบธุรกิจ โดยเริ่มตั้งแต่การนำเงินมาลงทุนในกิจการเพื่อใช้จ่ายเป็นค่าเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบ ค่าแรง ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการบริหารงานด้านต่างๆ แล้วทำการจำหน่ายสินค้าหรือบริการออกไปเพื่อให้ได้มาซึ่งรายรับแก่ธุรกิจ หลังจากนั้นจึงนำไปหักค่าใช้จ่ายเพื่อดูผลได้สุทธิว่ากำไรหรือขาดทุน แล้วจึงนำเงินนั้นใช้เพื่อดำเนินธุรกิจต่อไป
บทบาทและขั้นตอนของกระบวนการทางธุรกิจ
การดําเนินธุรกิจเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตั้งแต่ยุคที่ เรายังไม่มีเงินเป็นสื่อกลางในการ แลกเปลี่ยน กระบวนการทางธุรกิจยังเป็นเรื่องง่ายๆไม่ซับซ้อน เช่น การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันเพื่อให้ได้ของที่ต่างฝ่ายต่างพอใจ แต่ในปัจจุบันกระบวนการทางธุรกิจถูกจัดทำให้มีรูปแบบที่ชัดเจนและถูกต้องโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องบังคับให้การทำธุรกิจดำเนินไปในทางที่ถูกที่ควร เราจึงควรมีความเข้าใจในกระบวนการทางธุรกิจที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในทุกวันนี้กระบวนการทางธุรกิจเริ่มจากการที่เจ้าของนำเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นมาลงทุนในธุรกิจ ถ้าเงินสดมีไม่เพียงพอ อาจต้องกู้ยืมเพิ่มจากเจ้าหนี้หรือสถาบันการเงินต่างๆ จากนั้นจึงเริ่มนำเงินสดไปซื้อที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ต่างๆ หรืออาจใช้วิธีเช่าแทนการซื้อก็ได้ เมื่อกิจการเริ่มดำเนินการ ลักษณะของการดำเนินงานจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การค้าขาย หรือการให้บริการ โดยจะมีรายได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตามลักษณะของแต่ละกิจการเมื่อรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายจะเกิดกำไร แต่ถ้าค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้จะเกิดผลขาดทุน ส่วนใหญ่ในช่วงแรกของการดำเนินธุรกิจจะเกิดผลขาดทุน เมื่อดำเนินงานมาสักระยะหนึ่งธุรกิจจึงมีกำไร เมื่อมีผลกำไร ธุรกิจจะแบ่งปันคืนเจ้าของ หรือผู้ถือหุ้นในรูปของเงินปันผล กำไรส่วนที่เหลือก็จะเก็บไว้ในการดำเนินธุรกิจต่อไป
การหมุนเวียนของเงินสดในกระบวนการทางธุรกิจ
ประเภทของธุรกิจที่พบเห็นโดยทั่วไป
ลักษณะทั่วไปของการดำเนินธุรกิจมี 3 ประเภท ได้แก่
1. กิจการให้บริการ (Service Firm) กิจการให้บริการจะมีรายได้หลัก คือ ค่าธรรมเนียมค่าบริการรับ
รายจ่ายหลัก คือ เงินเดือนพนักงาน ค่าวัสดุสิ้นเปลือง ค่าเช่าค่าสาธารณูปโภค และอื่นๆ รายจ่ายในกิจการให้บริการถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นในกิจการให้บริการคือการวัดผลการดำเนินงาน ลักษณะของผลิตภัณฑ์จะไม่เห็นเป็นตัวตนที่ชัดเจน ตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ เช่นโรงพยาบาล สำนักงานกฎหมาย บริษัทที่ปรึกษา เป็นต้น
รายจ่ายหลัก คือ เงินเดือนพนักงาน ค่าวัสดุสิ้นเปลือง ค่าเช่าค่าสาธารณูปโภค และอื่นๆ รายจ่ายในกิจการให้บริการถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นในกิจการให้บริการคือการวัดผลการดำเนินงาน ลักษณะของผลิตภัณฑ์จะไม่เห็นเป็นตัวตนที่ชัดเจน ตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ เช่นโรงพยาบาล สำนักงานกฎหมาย บริษัทที่ปรึกษา เป็นต้น
2. กิจการซื้อมาขายไป (Merchandising Firm) หมายถึง กิจการที่ซื้อขายสินค้าทั้งขายส่งและขายปลีกโดยไม่ใช่ผู้ผลิต รายได้หลักของกิจการ คือ เงินที่ขายสินค้าได้ ค่าใช้จ่ายจำแนกเป็น 2 ส่วน คือ ต้นทุนสินค้าขาย
และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านขายยา ร้านขายของชำ เป็นต้น
และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านขายยา ร้านขายของชำ เป็นต้น
3. กิจการผลิต (Manufacturing Firm) กิจการผลิตส่วนใหญ่จะมีโรงงานสำหรับผลิตสินค้า รายได้หลัก คือ เงินที่ได้จากการขายสินค้า ค้าใช้จ่าย คือ ต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบ ค่าจ้างคนงาน และค่าใช้จ่ายในขบวนการผลิต
ค่าใช้จ่ายทั้งสามส่วนนี้จะรวมเป็นต้นทุนสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในสำนักงานจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
ค่าใช้จ่ายทั้งสามส่วนนี้จะรวมเป็นต้นทุนสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในสำนักงานจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
วงจรบัญชี (Accounting Cycle)
วงจรบัญชี หมายถึง ลำดับขั้นตอนการจัดทำบัญชี การบันทึกเอกสารรายการค้าลงในสมุดรายวัน และการสรุปผลรายงานทางการเงินแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี วัตถุประสงค์ให้ได้ผลการดำเนินงานและสถานะทางการเงิน ทำให้กิจการได้นำมาใช้ในการวิเคราะห์ตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ว่าแต่วงจรบัญชีหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวัฏจักรทางการบัญชี มีวิธีการจัดทำและบันทึกรายการอย่างไร
วงจรซื้อ
เมื่อมีการซื้อสินค้า เอกสารที่กิจการจะได้รับใบกำกับภาษีซื้อเป็นชุด (ต้นฉบับ และ สำเนา)
1. ให้นำต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อที่ได้รับ มาจัดเรียงตามวันที่และใส่ลำดับเลขที่ใหม่ ดังนี้ เดือน…../ลำดับที่…….
2. ให้นำต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อ มาจัดทำรายงานภาษีซื้อ (เตรียมยื่นนำส่งภาษี ภ.พ.30)
3. ในกรณีที่เป็นใบกำกับภาษีซื้อต้องห้าม เช่น ใบกำกับภาษีซื้อค่าอาหาร ซื้อขนม เป็นต้น ให้นำมาหักออกจากรายภาษีซื้อ
4. ในกรณีใบกำกับภาษีซื้อล่าช้า สามารถล่าช้าได้ 6 เดือน ถ้าได้รับในเดือนใด ให้นำมาจัดทำรายงานภาษีซื้อในเดือนนั้น โดยให้หมายเหตุไว้ที่ใบกำกับภาษีด้วยว่า ถือเป็นใบกำกับภาษีซื้อเดือน…….
5. เมื่อลงรายการภาษีซื้อแล้ว ให้นำต้นฉบับใบกำกับภาษีเก็บเข้าแฟ้มเป็นหลักฐาน โดยเรียงตามลำดับที่ในรายงานภาษีซื้อ
6. นำสำเนาใบกำกับภาษีซื้อ มาจัดทำใบตรวจรับพัสดุ
7. นำใบตรวจรับพัสดุ มาบันทึกรายการในสมุดรายวันซื้อ พอสิ้นเดือนจึงสรุปยอด
วงจรขาย
เมื่อมีการขายสินค้า ต้องจัดทำใบกำกับภาษีขายขึ้น ต้องมีต้นฉบับ และสำเนา (ต้นฉบับ = 1+ สำเนา 5)
1. นำรายการขายสินค้ามาจัดทำใบกำกับภาษีขาย แล้วนำต้นฉบับใบกำกับภาษีขาย + สำเนา 1 ใบ ให้ลูกค้า
2. นำสำเนาใบกำกับภาษีขายมาจัดทำรายงานภาษีขาย
3. นำใบกำกับภาษีขายมาบันทึกรายการในสมุดรายวันขาย สิ้นเดือนสรุปยอด
4. นำใบกำกับภาษีขาย มาจัดทำบัญชีคุมสินค้าทางด้านรายจ่าย
5. สิ้นเดือนรวมยอดต้นทุนสินค้าที่ขายในบัญชีคุมสินค้า บันทึกต้นทุนขายในสมุดรายวันทั่วไป
ที่มk
เขียนโดย
1. น.ส. กัญญาณัฐ มั่นเพ็ชร
2. น.ส. ชุติมา นากร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น